banner
ศุกร์ ที่ 4 เดือน มกราคม พ.ศ.2562 แก้ไข admin

ด้วยรักและห่วงใยจากคุณยายถึงหลานๆ (ตอนที่ 1)




 นางสาวทองพูล บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          การดำเนินกิจกรรมสัญจร  “ด้วยรักและห่วงใยจากคุณยายถึงหลานๆ”  ด้วยคุณยายของหลานๆ คือท่าน “คุณหญิงจันทนี  สันตะบุตร”  ปัจจุบันท่าน อายุ 98 ปี  ท่านเป็นประธานมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มาอย่างยาวนาน  เป็นผู้พิพากษาสมทบ ที่บุกเบิกงานด้านคดีเด็กและเยาวชน  โดยเฉพาะการสร้างบ้านกาญจนภิเษก   ตลอดจนท่านมาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ท่านได้มี อนุกรรมการด้านกรมราชภัณฑ์และสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก  ได้ไปเยี่ยมสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ตลอดจน ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยวาชน  ทั่วประเทศ   ด้วยความเป็นผู้ใหญ่ใจดี เน้นการเยี่ยมเชิงกัลยาณมิตร  ให้กำลังใจคนทำงาน เมื่อคนทำงานมีขวัญและกำลังใจจะไปดูแลเด็กและเยาวชนด้วยความเมตตา ปรานี  ให้โอกาสกับพวกเด็ก  ดูแลเด็กและเยาวชนเปรียบเสมือนลูกหลานของตัวเอง

          สิ่งเหล่านี้เป็นคุณยายดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง  และสิ่งที่ ปรารภทุกครั้งต้องการให้เด็กได้มีโอกาสสัมผัสกิจกรรมที่สร้างสรรค์  เพื่อสักครั้งในชีวิตได้เรียนรู้สิ่งที่ดีๆ   แล้วติดตัวเด็กๆเหล่านี้ไป  เมื่อพ้นโทษ  หรือพ้นการฝึกอบรมไปแล้วก็ยังนำไปแบ่งปัน ให้เพื่อน พี่น้อง ได้



          ด้วยทีมงานของ อาจารย์เกื้อ  แก้วเกต นำทีมที่จะสัญจรไปตามที่ต่างๆ  ซึ่งในครั้งแรก ท่านพร้อมด้วย  นางสาววัณณา  แสนงาม (พี่ป้อม) นายประพันธ์  ขันตีสา (พี่แขก)  ซึ่งมีการประชุมเตรียมการ กันมากว่า 6 เดือนเต็ม  ว่าจะเริ่มด้วยรูปแบบได้    จนกระทั่งครั้งสุดท้าย  นายวัลลภ  ตังคณานุรักษ์ (ครูหยุย)   เน้นย้ำว่าลุยไปก่อนเลย   ในฐานะของผู้เขียนเป็นผู้ประสานงานดำเนินการ  จึงเริ่มพื้นที่แรกก่อน ภายในเดือนตุลาคม  2561

          เริ่มต้นประสานงานกับท่าน ผู้อำนวยการศักดิ์ชัย  ค้ำชู   เป็นผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกรุงเทพ   ประสานงานกับท่านด้วยโทรศัพท์  แล้วส่งเอกสารทางไลน์  

-เริ่มต้นเรื่องการจัดห้องประชุม ไม่มีโต๊ะ ไม่เก้าอี้

-เด็กที่เข้าร่วมจำนวน 60 คน  ขอเป็นเด็กที่เพิ่งเข้ามา

-ช่วยประสานงานซื้ออาหารเบรกให้ด้วย  จำนวนเงิน 2,500 – 3,000  บาท

-กิจกรรมเริ่มต้น 9.00-12.00 น. อาหารกลางวันทีมวิทยากรหากินเอง  เผื่อไม่ต้องภาระ กับเจ้าหน้าที่ ที่มาอำนวยความสะดวก

-อุปกรณ์อะไรที่ต้องห้ามนำเข้า  ทางทีมจะเอาปากกาเคมี กระดาษ สีชอล์คไปเอง

-ขอทีมงานของแต่ละสถานพินิจ  เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้วย

ก่อนถึงวันที่ดำเนินการเองจริงๆ  ครูเองกลายเป็นคนนอนไม่หลับ  ตื่นเต้นอีกครั้งในการเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  ซึ่งห่างเหินมานานพอสมควร  และครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งอื่น  เพราะทีมของพวกเราลงไปทำกิจกรรมที่พวกเราเลือกมาสื่อสาร กับเด็กและเยาวชน

ในวันที่  17 ตุลาคม 2561  ครูเองเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ไปถึงสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 7 โมงเช้า ตื่นเต้นค่ะ ตื่นเต้น  หลายประการด้วยกัน 

เมื่อถึงเวลานัดทุกครบ 4 คน พี่เกื้อ พี่ป้อม พี่แขก  และผู้เขียนเอง  ผู้อำนวยรอรับอยู่ แต่พวกเรามาเช้าเป็นพิเศษ  จึงเดินเข้าไปสถานที่ ทางสถานพินิจฯจัดให้ใช้ห้องประชุมอยู่ภายในอาคาร  พวกเราต้องฝากของทุกอย่าง โทรศัพท์ กระเป๋าสตางค์ เศษเหรียญสักบ้านก็ห้ามเอาเข้าไป  เป็นระเบียบแม้แต่ตัวผู้อำนวยการก็ต้องปฏิบัติเหมือนกัน

เดินผ่านอาคารและกลุ่มเด็กและเยาวชนอีกจำนวนหนึ่ง ที่กำลังเข้าฐานเตรียมกิจกรรม  แต่สำหรับที่จะเข้าร่วม ไปนั่งคอยอยู่ที่ห้องประชุมเรียบร้อยแล้ว 

เริ่มด้วยผู้อำนวยการศักดิ์ชัย  ค้ำชู  กล่าวต้อนรับพวกเราทุกคน   มาด้วยพี่เกื้อ  เกริ่นการเริ่มกิจกรรม  ว่าพวกเราจะทำอะไรกันได้บ้าง   พี่เกื้อ ส่งต่อให้พี่แขก  ที่เริ่มว่าร่างกายของมนุษย์ ต้องมีการขยับร่างกาย  ด้วยการหมุนมือ

การเรียนรู้ของเด็ก มีสายตาที่น่าสงสัยตลอดเวลา  รู้ว่าพวกเด็กและเยาวชนกำลังปั่นป่วนพอสมควรว่า พวกเรากำลังจะมาทำอะไรกับพวกเขา

มาต่อด้วยเสียงที่มีพลังของพี่ป้อม    เริ่มให้เด็กออกจากโซนของเด็กที่เริ่มจับกลุ่ม เอาหลังนั่งพิงฝาผะหนัง  ไม่ขยับตัว  เริ่มจับกลุ่มเฉพาะตัวเองว่าปลอดภัย   ด้วยให้จับกลุ่มตามวันเกิดของเด็กเอง  เรียงเป็นวัน เสาร์-วันอาทิตย์-วันจันทร์-วันอังคาร-วันพุธ-วันพฤหัสบดี-วันศุกร์    และมีกลุ่มที่ไม่รู้ว่าตัวเองเกิดวันอะไร

หลังจากนั้นมาต่อด้วย จับกลุ่มสองคน  ช่วยกันทายชื่อ ขนมไทย มีอะไรบ้าง  เห็นได้ชัดว่า มีเด็กจำนวนหนึ่งที่ไม่รู้จักขนมไทย  นั่งเงียบๆๆกันสองคน  แต่ยังนั่งในกลุ่มอยู่

แล้วก็สลับทั้งสองคน ต้องไปหาคู่ใหม่ที่เด็กยังไม่ได้ทำกิจกรรมด้วย  แข่งกันท่องสุภาษิต  มีเด็กและเยาวชนบางคู่ที่สื่อสารกันไม่ได้  เพราะสังเกตจากการรวมกลุ่มให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  เพียงแต่เด็กและเยาวชน

สลับกันต่ออีกครั้ง  ซึ่งต้องเจอคนใหม่   ครั้งนี้เห็นได้ชัดว่า เริ่มมีการขยับร่างกายของเด็กและเยาวชน สลับจากหน้าห้องมาหลังห้อง  จากคนที่เคยนั่งเฉยๆๆ ก็เริ่มที่เข้าหาคนที่มาใหม่   แล้วพี่ป้อมด้วย คนที่หนึ่งกำมือทั้งสองข้าง   คนที่สอง มีหน้าที่แกะมือที่กำไว้ออกมา  เห็นบางคู่ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีที่เพื่อนไม่ต้องแบมือให้เลย  บางคนก็สลับการแบ-กำ   เป็นการเรียนรู้ซึ่งเห็นความถ้อยที ถ้อยอาศัยกัน   เด็กและเยาวชนยิ้มแย้มกันมากขึ้น    พี่ป้อมยังใช้นิทานเป็นตัวเดินเรื่องให้กิจกรรมสนุกสนานต่อ

พี่ป้อมมาสรุปกิจกรรมว่า คนทุกคนต้องมี ปรับ ปรุง เปลี่ยน   (กิจกรรม 3 ป.)

อีกครั้งด้วยการนับเล่า 1-7   ให้แต่ละคน  มานั่งรวมกัน ใครที่ได้เลข หนึ่ง มาอยู่ กลุ่มเดียวกัน   เลข 2 มาอยู่กลุ่มเดียวกัน  จึงได้กลุ่มทั้งหมด 7 กลุ่มด้วยกัน   ซึ่งแต่ละกลุ่มต้องจำชื่อสมาชิกให้ได้  พร้อมกับตั้งชื่อ กลุ่มของตัวเอง  มีเพลงประกอบท่าทางของกลุ่มตัวเองด้วย

ชื่อกลุ่มที่ สถานพินิจเด็กและเยาวชนกรุงเทพ  มีชื่อกลุ่มที่แปลกมาด้วย  อามวิ่งหวาน,วิ่งทอดมัน,สบู่หลวง,ถามทำไม,อ้วนไข่เจียว อ้นเลมอน,อาทวิ่งนมปัง    เป็นชื่อกลุ่มที่เพื่อนทำกิจกรรมเหมือนตั้งใจอย่างมาก

ความสงสัยของผู้เขียนมีอย่างมาก  ว่าชื่อเหล่านี้มันต้องมีการสะท้อนอะไรบางอย่างแน่นอน  เพราะดูเด็กและเยาวชน  ยิ้มแบบแห้งๆๆ  แต่ก็ยอมรับชื่อเหล่านั้นแบบอัตโนมัติ   เมื่อเด็กเข้ากลุ่มเริ่มทำกิจกรรม  ผู้เขียนเองก็เข้าไปกระซิบเด็กบางคนว่าชื่อเหล่านั้นแปลว่าอะไร  ถ้ามีอะไรระวังของทีมวิทยากรจะได้จัดการกันด่วน หรือในครั้งต่อไป

อามวิ่งหวาน   คือ มีเด็กและเยาวชนเข้ามาใหม่ ชื่อ อาม  เมื่อเห็นโรงเลี้ยงของขนมหวาน  จึงขอเติมจากเพื่อน  เพื่อนเห็นว่าอามอยากกินจึงเทขนมหวานให้เพื่อนหมด...จึงเป็นที่มาของชื่อ

วิ่งทอดมัน   ด้วยมีเพื่อนคนหนึ่ง ที่เข้าร่วมกิจกรรม  ถ้าวันนั้นที่โรงเลี้ยง  ทำทอดมันเลี้ยงเด็กและเยาวชน   น้องคนนี้จะขอมากเป็นพิเศษ  เพราะเป็นของชอบ  และทุกคนก็ให้  บางครั้งถึงกับกินไม่หมด   เมื่อเพื่อนมาแล้วจึงนั่งดูว่าเพื่อนจะกินหมดไหม...

สบู่หลวง   คือ กลุ่มเพื่อนที่ไม่มีญาติมาเยี่ยมเลย   จึงตั้งฉายานี้สำหรับเพื่อนที่ไม่มีญาติ

ถามทำไม...คือ เวลามีกิจกรรมภายนอกมาทำกิจกรรมให้  ผู้ใหญ่หรือกลุ่มคนทุกคนที่มา ชอบถามว่าติดด้วยคดีอะไร....พวกเราทุกคนเบื่อคำถามนี้....ถามทำไม..ช่วยอะไรด้วยบ้าง.....

แค่ตัวอย่างที่ผู้เขียนอยากรู้   กลายเป็นข้อมูลชั้นดี  ที่ทีมวิทยากรต้องระมัดระวัง   ขอบคุณมากจริงๆ เด็กและเยาวชนที่สะท้อนให้คนทำกิจกรรม......

 

กิจกรรมที่สอง  กิจกรรมที่รู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อน-จุดแข็งอะไร

เริ่มต้นด้วย กระดาษเอสี จำนวนหนึ่งแผ่น  นำกระดาษมาพับเป็นสี่พับ   พร้อมกับด้านซ้ายมือ เขียน เลขกำกับ  หมายเลข 1 ถึง 4

ขั้นที่ หนึ่ง   นำหน้าที่ 1  ขึ้นมาเป็นด้าน   แล้ววาดรูปหน้าตัวเอง  แบบครึ่งหน้ามีผม มีตา  วาดคนมาถึงที่คอ  ของแต่ละคน

ขั้นที่ สอง  นำกระดาษของเรา  เวียนไปทางซ้ายมือ  เอาพับที่หนึ่งไปซ่อนไว้   นำหมายเลขสอง  แล้วเพื่อนช่วยเขียน  จากแขน  จนมาถึงเอวในกระดาษของเพื่อ (ห้ามเปิดดูอย่างเด็ดขาด

ขั้นที่สาม  เวียนการะดาษไปทางซ้ายมืออีกครั้ง  ด้วย นำกระดาษ หมายเลขสาม  ขึ้นมา  พร้อมเขียน จากเอวไปถึงหัวเข่า  ใส่กางเกงหรือกระโปร่งให้ด้วย

ขั้นที่ สี่  ในแต่ละกลุ่มรวบรวมกระดาษของกลุ่ม ส่งต่อไปให้กลุ่มอื่น  แล้วช่วยวาดจากเข่าถึงเท้า  เมื่อเสร็จแล้ว ส่งคืนเจ้าของ   สังเกตเห็นเจ้าของของแต่ละคน นั่งอึ้ง  แล้วเสียงวิทยากรก็บอกว่าตกแต่งให้สวยตามใจของแต่ละคน

ขั้นที่ ห้า  ให้แต่ละคนพับการดาษแบ่งครึ่ง  เขียน ข้อดี  ข้อเสีย   แล้วนำมาแบ่งปันกับเพื่อโดยมีพี่เลี้ยงเข้ามารับฟังด้วย

ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปนั่งฟังในกลุ่มที่สื่อสาร ข้อดี มีตั้งแต่เป็นลุกที่ดีของพ่อแม่ ตั้งใจเรียน เรียนหนังสือเก่ง ทำงานกับครอบครัว ช่วยเหลือผู้อื่น ชอบทำงาน  มีความรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง  รักเพื่อน  รักคนในครอบครัว  เป็นต้น

สำหรับข้อเสีย  เมื่อติดยาเสพติด  นิสัยเอาแต่ใจตนเอง  ไม่ฟังคนในครอบครัว เชื่อใจคนง่าย  อยากลองอยากรู้   เป็นต้น 

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับผม   ผมบอกเลยว่าเป็นเพราะตัวผมไม่เข็มแข็งพอครับ....  จึงต้องใช้ชีวิตในสถานที่แห่งนี้กว่า 3 รอบแล้วครับ....

กิจกรรมครั้งนี้ใช้เวลากว่าชั่วโมงครึ่ง  ซึ่งเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ตั้งใจและมีสมาธิมาก    และกิจกรรมนี้บูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆๆได้มาก  สำหรับการทำงานรายบุคคลกับเด็กและเยาวชนแต่ละคน...

 

กิจกรรมที่สาม  บันไดงู

เวลาไม่ทัน  จึงต้องเพียงให้แต่ละกลุ่มรู้จักเทคนิคเท่านั้น

สรุปด้วยกิจกรรม   การเปลี่ยนแปลงของนกอินทรีย์ 

            พี่เกื้อ เล่าถึงชีวิตของ เมื่อเวลาล่วงผ่าน อินทรีน้อยเติบใหญ่...ในวัย 40 ปี มันจะต้องเผชิญกับอุปสรรคอันใหญ่หลวงอีกครั้ง จะงอยปากของมันเริ่มงองุ้ม จะจิก จะกินอะไร ก็ทำได้ยาก เช่นเดียวกับเล็บที่ยาว และโค้งงอไม่สามารถจับสัตว์กินเป็นอาหารได้อย่างเก่า อีกทั้งปีกงามก็เกิดขนปกคลุมจนหนาและหนัก ทำการบินแต่ละครั้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก ช่วงเวลานี้กินเวลายาวนานถึง 150 วัน

             มันมีทางเลือกเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ ปลิดชีวิตตัวเองเสีย หรือ รักษาชีวิตให้ดำเนินต่อไป แต่ต้องผ่านบททดสอบที่แสนสาหัสสากรรจ์ หากเลือกหนทางแรก มันเพียงใช้กรงเล็บอันแหลมคมปาดคอตัวเอง ชีวิตที่จะต้องทนทุกข์ทรมานก็จบสิ้นลง

             แต่หากเลือกหนทางที่สอง มันจะบินขึ้นสู่ภูเขาหินสูงแล้วเคาะจะงอยปากของมันกับหินนับร้อย นับพันครั้ง เพื่อให้จะงอยปากของมันหลุดออกมา จากนั้นก็ต้องเคาะเล็บของตัวเองที่งองุ้มกับพื้นหินแข็งๆ เพื่อให้เล็บหลุดออกทีละเล็บๆ จนหมดสิ้น ทั้งต้องจิกขนที่หนาเตอะตรงอกและปีก ออกทีละชิ้นๆจนไม่มีเหลือ แน่นอนว่ากระบวนการเหล่านี้คือความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส แต่ครั้นเวลาผ่านไปจนครบ 150 วัน

             รางวัลที่มันจะได้รับก็คือ จะงอยปากที่งอกออกมาใหม่สวยงามกว่าเดิม เช่นเดียวกับขนที่สวยงาม และเล็บอันแหลมคมเหมาะแก่การดำรงชีวิต และล่าสัตว์ แต่สิ่งสำคัญคือ มันจะมีชีวิตต่อไปได้อีก 30 ปี เป็นชีวิตที่สง่างามและมีเกียรติ ด้วยผ่านบททดสอบอันยิ่งใหญ่ของชีวิตมาได้ มันจะบินขึ้นสู่ท้องฟ้าด้วยปีกที่ทรงพลัง และความมั่นใจมากกว่าเดิม

            ชีวิตในวัย 40 ปี ของอินทรี ทำให้เราได้ตระหนักว่า แท้จริงแล้วเส้นบางๆ ที่คั่นระหว่างความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้ ก็คือการตัดสินใจของตัวเราเอง การมีชีวิตที่ยืนยาวได้อย่างสง่างาม และมีเกียรติใช่ว่าชีวิตนั้นจะไม่เคยผ่านความเจ็บปวด หรือความอดทนใดๆ มาก่อน หากแต่ทุกชีวิต หรือทุกสรรพสิ่งย่อมต้องผ่านบททดสอบ ต้องมีการเรียนรู้ เพื่อหาหนทางที่จะก้าวเดินต่อไปเสมอ

นกอินทรีย์เหล่านี้มีจำนวนหนึ่งที่ผ่านบททดสอบนี้ไปได้  แต่อีกจำนวนหนึ่งที่ยอมตายตั้งแต่ยังไม่ได้ที่จะเริ่มต้นด้วยซ้ำ

ซึ่งก็เหมือนกับชีวิตของเด็กและเยาวชน ลูก/หลานของพวกเราทุกคนต้องผ่านบททดสอบเหมือนกัน  เพื่อให้ชีวิตผ่านไปให้ได้  เพื่อตัวของเราเอง  ไม่มีใครมาเปลี่ยนได้  ถ้าไม่เริ่มจากตัวเอง รักตัวเองให้เป็น ก้าวข้ามให้ได้  ครอบครัวของเด็กๆๆคอยอยู่

ชีวิตของเด็กและเยาวชน.....ต้องลิขิตด้วยมือของตัวเด็กและเยาวชนเอง

ผู้ใหญ่ทุกท่านมีหน้าที่สนับสนุน ประคับประคอง  ให้เด็กและเยาวชนก้าวผ่านอีกครั้งในชีวิต  คืนเด็กสู่ครอบครัว สู่ชุมชน