banner
อังคาร ที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ.2561 แก้ไข admin

สถานการณ์เด็กเร่ร่อนบนท้องถนนในประเทศไทย จากการสัมมนา 4 ภาค

 

นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

                ด้วยเด็กเร่ร่อนบนท้องถนนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งจำนวนตัวเลขของเด็กที่เพิ่มมากขึ้น และเหตุปัจจัยที่แตกต่างจากเดิมและมีความซับซ้อนของปัญหา  และมีเหตุปัจจัยเรื่องประเทศไทยเป็นสมาชิกของอาเซียน จึงมีการโยกย้ายและการย้ายถิ่นฐาน

                เด็กเร่ร่อนที่เป็นเด็กไทย  เริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจำนวนมาก  การทำงานยังไม่แก้ไขปัญหาไม่ทันท่วงที  และบ้านสำหรับเด็กเร่ร่อน หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ยังไม่มีบ้านสำหรับเด็กกลุ่มนี้  ในขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชนกำลังประสบปัญหาในการขาดงบประมาณ

                กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อน ครอบครัวเร่ร่อน เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  พาครอบครัวเร่ร่อนไปนอนที่สาธารณะ ทั้งใต้ทางด่วน  หน้าห้างสรรพสินค้า  หน้าวัด เป็นต้น

                กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  มีจำนวนน้อยลง   เพราะมีกฎหมายควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559  เริ่มมาใช้ มีกระบวนการทำงาน การส่งกลับมีการติดตามมากขึ้น   แต่ผู้บังคับใช้กฎหมายก็ยังใช้กฎหมายของหน่วยงานมากกว่าที่จะใช้กฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อเคส   

พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522  ผู้ที่บังคับใช้คือ  สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง   ใช้กฎหมายหลักของหน่วยงานก่อน

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  และ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551   ผู้บังคับกฎหมาย  คือ ตำรวจนครบาลในท้องที่ต่างๆ

พระราชควบคุมการขอทาน พ.ศ.  2559   ผู้บังคับกฎหมาย คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการขอทาน   ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ไม่มีการแยกเด็กออกจากแม่หรือพ่อ กรณีในการถูกจับ  แต่สิ่งที่พบคือกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการยังไม่สอดคล้องของกฎหมาย  และการตีความไปในทิศทางเดียวกันของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ

 

จากการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของเด็กเร่ร่อน พร้อมกับทางสหประชาชาติด้านเด็ก  ได้มีข้อเสนอแนะทั่วไปฉบับที่ 21  เรื่องสถานการณ์เด็กเร่ร่อนบนถนน ซึ่งทุกประเทศต้องมีการเผยแพร่ข้อมูล จนกระทั่งการปรับกฎหมาย ระเบียบ แนวปฏิบัติ ตลอดจน กลยุทธ์   ทางกรมกิจการเด็กพร้อมกับเครือข่ายคนทำงานด้านเด็กเร่ร่อน ได้มีการจัดอบรมเรื่อง "ส่งเสริมแนวทางการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานเด็กเร่ร่อน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคใต้  ภาคเหนือ  และภาคกลาง

 

สถานการณ์เด็กเร่ร่อน  แม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                ด้วยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้จัดประชุมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ส่งเสริมแนวทางการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กเร่ร่อนระดับภูมิภาค  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่        

                มีพี่น้องที่เข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า 40 คน พร้อมมีเด็กเร่ร่อนเข้าประชุมด้วยจำนวน 5 คน ที่มาจากบ้านพักเด็กและครอบครัว ทีมงานของสถานสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครูสอนเด็กด้อยโอกาสในเขตเมืองที่สังกัดเทศบาลต่างๆ  ซึ่งได้ร่วมกันเรียนรู้ ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน ทักษะการทำงาน ช่วยกันสะท้อนปัญหาของเด็กในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พร้อมได้มีการศึกษาดูงานศูนย์สร้างโอกาสเด็ก   บ้านลูกรัก มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก  และศูนย์กิจกรรมของเทศบาลนครขอนแก่น 

                ประเด็นที่แลกเปลี่ยนรวมถึงสถานการณ์เด็กด้อยโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนมากเป็นประชากรที่มีการเคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดต่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ กลุ่มของเด็กวัยรุ่นที่รวมตัวกันเป็นแก๊งค์ต่างๆ  ในขณะนี้มีการเคลื่อนย้ายไปตามจังหวัดต่างๆเพิ่มมากขึ้น  ทุกจังหวัดเริ่มมีปัญหาทะเลาะกันระหว่างจังหวัด มีการเลียนแบบในการใช้ความรุนแรง เช่นที่จังหวัดอุดรธานี    และจังหวัดอุบลราชธานี

                เฉพาะในจังหวัดขอนแก่นมีมากกว่า 100   แก๊ง   และในชุมชนออกนอกเขตเทศบาล  เด็กวัยรุ่นจะรวมตัวกัน ไม่ไปเรียนหนังสือ  มีการแข่งขันมอเตอร์ไซด์ระหว่างจังหวัด   มีเด็กในเขตเทศบาลบางจังหวัดเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 

เด็กต่างด้าวที่ติดตามพ่อแม่มาทำงานก่อสร้าง และทำงานในโรงงาน ต่างๆ  มีจำนวนมาก  ซึ่งไม่มีการสำรวจ  เพราะเป็นแรงงานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน  เด็กต่างด้าวเหล่านี้มีบางส่วนที่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ  แต่บางคนก็ไม่ได้เรียน  เด็กบางคนเมออกเร่ร่อนตามแม่ไปขอทานตามตลาดนัด หรือบางครอบครัวก็ไปตามตลาดโต้รุ่งของเมืองใหญ่

              ชุมชนแออัดมีจำนวนไม่น้อยกว่า 788  แห่งมีเด็กที่ออกกลางคั่นจำนวนมาก พร้อมกับการไปก่อเรื่องทะเลาะกันระหว่างจังหวัด  พร้อมมีการเคลื่อนย้าย    ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบกับเด็กเร่ร่อนโดยตรง ขอแยกออกเป็นดังนี้

1.ปัญหาของเด็กเร่ร่อนที่ออกมาเร่ร่อนตามลำพัง    มีทุกจังหวัด  แต่กลุ่มที่ออกจากโรงเรียนกลางคั่นแล้วไปอยู่ด้วยกันของหนุ่มสาวตามชุมชน   หรือบางครอบครัวก็ย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง  เมื่อคลอดลูกแล้วก็จะทิ้งเด็กเอาไว้  ส่วนพ่อแม่วัยรุ่นทั้งคู่ก็ออกเร่ร่อน หรือออกไปเที่ยวเตร่   แยกย้ายกันเร่ร่อน  กลุ่มเด็กส่วนมากเป็นเด็กวัยรุ่นไทย   ในช่วงอายุประมาณ 9-13 ปี  ที่ออกมาตามลำพังอาศัย   ตามบ้านร้าง  ตามมุมตึกต่าง  ทั้งหญิงและชาย

-มีเด็กที่ถูกทิ้งให้อยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย  ลุง ป้า น้า  อา  เพราะพ่อหรือแม่ของเด็กไปติดอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก   หรือบางคนก็หายตัวไปจากจังหวัดที่อยู่  เช่นที่ขอนแก่น  นครราชสีมา  


-มีเด็กที่แม่เด็กตายเป็นชาวต่างชาติ กัมพูชา เวียดนาม ลาว  เด็กเหล่านี้ถูกส่งมาให้อยู่กับตา ยาย ป้า  เด็กได้เข้าเรียน ในจังหวัดศรีสะเกษ  อุบลราชธานี  แต่เด็กไม่มีเอกสาร  มีเด็กคนหนึ่งหนีออกจากชุมชนไปตามหาพ่อ  จนมาพบตำรวจเป็นข่าวสารที่ดังมากในจังหวัดนครราชสีมา

           มีเด็กที่ออกมาระบบการศึกษา ในช่วงอายุ  11-16  ปี ทั้งหญิงและชาย  มารวมตัวในบ้านหนึ่งหลังในชุมชน   ทั้งมั่วสุมและติดยาเสพติด  จนไปถึงการขายบริการทางเพศ  เด็กเหล่านี้บางคนก็ถูกไล่ให้ออกจากชุมชนเพราะทำให้ชุมชนไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานชุมชนสีขาว  จึงต้องออกมาเร่ร่อนในตลาดในเขตเมือง

            มีเด็กทุกชุมชนที่ถูกทิ้งไว้กับญาติ และญาติเลี้ยงดูไม่เหมาะสมหรือการปล่อยปละละเลย  ส่งผลกระทบกับเด็กไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่มีเอกสารทางทะเบียน  เด็กบางคนจึงออกจากชุมชนแล้วเร่ร่อนไปเรื่อย   ที่จังหวัดขอนแก่น   มหาสารคาม...อุบราชธานี    อุดรธานี

 มีเด็กชายที่เคลื่อนย้าย และพากันไปขายบริการทางเพศ ที่พัทยา   มีทั้งที่ถูกหลอก และเด็กเต็มใจที่จะลงไปขายกันเอง  ตามคำบอกเล่า  เด็กบางส่วนติดโรคเอดส์มาด้วย  แต่ไม่ยอมรักษาตัว  บางจังหวัดผู้ป่วยเริ่มตายในวัยรุ่นมากขึ้น

                  -กลุ่มเด็กหญิงที่มีการเคลื่อนย้ายข้ามประเทศ เช่นกรณีของเด็กหญิงประเทศลาว เข้ามาทำงานตามจังหวัดชายแดน เช่นหนองคาย มุกดาหาร อุดรธานี   อุบลราชธานี  บางคนที่ป่วยไม่มีค่ารักษาพยาบาลหรือบางคน

             2.กลุ่มเด็กที่ออกมาทำงานบนถนน  เป็นกรณีที่เกิดมาจากครอบครัวใช้แรงงานของเด็ก ในขณะนี้มีเกือบทุกจังหวัด  บางครอบครัวก็เร่ร่อนมาด้วยกันตั้งแต่นครราชสีมา ไปขอนแก่น ไปหนองบัวลำภู  ไม่มีที่พักนอนเป็นหลักแหล่ง

              -ที่จังหวัดขอนแก่น เด็กเล็กในช่วงอายุ 5-9 ปี ทั้งเด็กหญิงและชายในช่วงกลางคืน จะออกมามาขายพวงมาลัย   บางครอบครัวก็พากันออกมาชุมชนขออาหารตามร้านค้าในช่วงเช้ามืด

              ที่จังหวัดอุบลราชธานี มีครอบครัวจำนวน สามครอบครัว มีลูกหลานกว่า สิบคน ในช่วงกลางคืนประมาณ หนึ่งทุ่มจนถึงตีสอง  จะแยกแยกกันขายดอกไม้พวงมาลัยตามร้านอาหารและตลาดโต้รุ่ง มาจากชุมชนวังทอง


            3.กลุ่มแม่และเด็ก ทั้งเด็กไทย และเด็กต่างด้าวที่กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม

-กลุ่มแม่และเด็กที่เป็นคนไทย กลุ่มที่ฐานะยากจน  ที่อาศัยบ้านตามรางรถไฟ ตั้งแต่นครราชสีมา จนถึง  หนองคาย  ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากที่ต้องย้ายบ้านออกจากพื้นที่ เพราะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง   ส่งผลกระทบให้ไม่มีที่อยู่อาศัยที่แน่นอน   เด็กกลุ่มนี้พ่อแม่พาออกเร่ร่อนไปเรื่อย    ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานไหนที่ติดตามได้  ยกเว้นมีการร้องเรียนว่าเด็ก ว่าเด็กไม่ได้รับการศึกษา  ไม่พาเด็กเข้าเรียน

              -มีเคสที่ยังไม่ได้เข้าเรียน  เพราะประเมินว่าเด็กน่าจะติดโรคเอดส์จากพ่อกับแม่ที่เสียชีวิตแล้ว    ส่งผลให้ว่าโรงเรียนในเขตไม่รับเด็กคนนี้เข้าเรียน  เป็นการปฏิเสธ ถึงแม้จะมี มติครม.ในปี 2535  แก้ไข ปี   2548   แต่เด็กก็ยังไม่เข้าเรียน  ผู้ครูอ้างว่าเด็กจะนำโรคเอดส์ไปเผยแพร่ที่โรงเรียน   ยายเลยต้องให้หลานอยู่ในชุมชนพร้อมกับนำตัวหลานออกเก็บขยะไปตามที่ต่างๆในเขตเทศบาล     

           -กลุ่มแม่และเด็กที่เป็นป่วยเรื้อรัง ทั้งวัณโรค  โรคเอดส์   พาลูกขอทาน   เด็กไม่ได้เรียนแม่อ้างว่าเด็กต้องดูแลแม่ที่ป่วย  ส่วนพ่อเด็กหายไประหว่างที่ครอบครัวเร่ร่อนด้วยกัน

             -กลุ่มแม่และเด็กเป็นชาวกัมพูชา  ที่ติดตามครอบครัวมา ทำงานขายเสื้อผ้ามือสองอายุ 17 ปี  มีลูกชายวัย แปดเดือน  ทางตำรวจจับเดินเร่ร่อนอยู่  ส่งเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก บุรีรัมย์  ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายในการกักตัวแม่และเด็กที่ผิด  เคสนี้ควรส่งที่บ้านพักเด็กและครอบครัว

               -การใช้ความรุนแรงกับเด็กมีจำนวนมากทั้งเด็กนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียน  และอยู่กับครอบครัว   พอเด็กเริ่มวันรุ่น เด็กไม่ยอมอยู่บ้านออกไปเร่ร่อน


 

สถานการณ์เด็กเร่ร่อน  แม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ภาคใต้

เมื่อวันที่ 21-23     กุมภาพันธ์   2560  ณ.จังหวัดนครศรีธรรมราช

              ด้วยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้จัดประชุมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ส่งเสริมแนวทางการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กเร่ร่อนระดับภูมิภาค  ซึ่งได้มาจัดมาแล้ว 2 ภาค คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับภาคใต้ เมื่อวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2560

               มีพี่น้องคนทำงานด้านเด็กด้อยโอกาสที่รวมถึงเด็กเร่ร่อน จำนวน กว่า 40 คน ที่มาจากทีมบ้านพักเด็กและครอบครัว ทีมงานของสถานสงเคราะห์ในภาคใต้ ครูสอนเด็กด้อยโอกาสในเขตเมืองที่สังกัดเทศบาลต่างๆ  ซึ่งได้ร่วมกันเรียนรู้ ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน ทักษะการทำงาน  พร้อมช่วยกันสะท้อนปัญหาของเด็กในจังหวัดภาคใต้

            กลุ่มแม่และเด็กที่เกิดปัญหาในภาคใต้ ส่วนมากเป็นประชากรที่มีการเคลื่อนย้ายมาจากภาคต่างๆ รวมถึงเด็กต่างด้าวที่มาหางานทำภาคใต้  แล้วมาเกิดเป็นชุมชนแออัดมีจำนวนไม่น้อยว่า 400 แห่งทั้งภาคใต้  มีแหล่งก่อสร้างและบ้านพักของกรรมกรก่อสร้าง เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากกว่า 1,000แห่ง  ซึ่งเป็นชาวต่างด้าวที่มาทำงานก่อสร้าง พร้อมหอบหิ้วลูกหลานมาด้วย  กลุ่มชาวประมงชายทะเลที่เจ้าของมาเช่าสถานที่ให้อยู่ แล้วจัดเป็นที่พักชั่วคราว แต่ห้ามบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปยุ่งเกี่ยว  ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคม  สำหรับคนทำงานถือว่าเป็นปัญหาที่อยู่ในเกณฑ์ของความรุนแรง  แบ่งรายละเอียดคือ

             1.ปัญหาของเด็กเร่ร่อนที่ออกมาเร่ร่อนตามลำพังมีบ้าง  แต่ถูกทางครอบครัวไล่หรือทนอยู่ไม่ได้ออกมา จนกลายเป็นเร่ร่อนถาวร  มีทุกจังหวัด แต่ไม่มากเท่าที่ควร  มีเด็กบางคนที่โชคดีเข้าไปของในสถานสงเคราะห์ของรัฐ  แต่พบปัญหาเรื่องเอกสารแสดงตนของเด็ก  ซึ่งเด็กบางคนเรียนหนังสือแล้ว

                                -มีเด็กบางคนทาถูกทิ้งให้อยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย แล้วแม่ของเด็กก็จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม  พอมีลูกเอาลูกให้ผู้ใหญ่เลี้ยง ตัวเด็กเองก็ไปเรื่อย เรื่อย  บางคนก็เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือค้าประเวณี  เงินก็ไม่ส่ง  เด็กๆได้รับผลกระทบทั้งภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว และความอบอุ่น  เด็กเหล่านี้ก็ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน



              2.กลุ่มเด็กที่ออกมาทำงานบนถนน  เป็นกรณีที่เกิดมาจากครอบครัวใช้แรงงานของเด็ก ในขณะนี้มีเกือบทุกจังหวัด เพราะเป็นช่วงการท่องเทียว  ตั้งแต่ครอบครัวมีรถตุ๊ก หรือมอเตอร์ไซด์ เอาเด็กซ้อนท้าย ให้ไปขายของ

               -นครศรีธรรมราช เด็กเล็กในช่วงอายุ 5-9 ปี ทั้งเด็กหญิงและชายในช่วงกลางคืน จะออกมาขายของตั้งแต่การผลไม้ ไข่นกกระทา ขนมหวาน  โดยตระเวนไปขายตามร้านน้ำชา  กว่าเด็กจะได้นอนก็เกือบตีหนึ่ง-ตีสอง  เช้าขึ้นมาเด็กก็ไม่ยอมไปเรียนหนังสือ  บางครอบครัวเด็กขายไม่ได้ก็ใช้ความรุนแรงกับลูก จนเด็กบางคนหนีออกไปใช้ชีวิตนอกชุมชน หรือบางคนมีการรวมแก๊งค์กันตั้งแต่เด็ก  และไม่ชอบให้เด็กได้พูดคุยกับใคร  และสั่งให้พูดแบบนี้ถึงจะได้เงิน 

             -ภูเก็ต กระบี่  มีครอบครัวของเด็กส่วนมากมีทั้งเด็กพุทธและมุสลิม ที่บังคับให้เด็กเอาดอกไม้กุหลาบ ดอกกล้วยไม้ จำปา/จำปี  ตระเวนไปตามผับ หรือชายหาดที่นักท่องเที่ยวมาเล่นน้ำ หรือมาดื่มกินกัน  แม่ก็เมานั่งเฝ้าลูก  บางครั้งเด็กถูกทำอนาจารด้วยก็มี  สำหรับเด็กผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก  ในเรื่องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของร้านคาราโอเกระเข้าใจว่าหาเงินง่าย  ส่งผลให้เด็กไม่ยอมเรียนหนังสือ พอหน่วยงานเข้ามาก็จะบอกว่าลูกของเขา เขาดูแลเองได้หน่วยงานไม่เกี่ยว  คนทำงานก็ต้องถอยออกมา

              3.กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนไทย และกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ทั้งกัมพูชา พม่า และชาวโรฮิงยา  ที่มีการเคลื่อนย้ายไปตามจังหวัดต่างๆ


              -กลุ่มแม่และเด็กที่เป็นคนไทย แม่ป่วยเป็นจิตเภท แล้วพาลูกชายหรือลูกสาว ขอทานไปเรื่อย  ตามสถานที่ต่างๆ  และส่วนมากไม่ยอมกลับครอบครัวเดิม  ไม่ให้เด็กรับบริการทางสังคม ไม่ยอมให้ลูกได้รับการดูแลจากหน่วยงานไหนทั้งนั้น  ลูกเองก็รักแม่มากตระเวนไปด้วยกัน  เกือบทุกจังหวัด พูดเรื่องเหล่านี้หมด  และเริ่มเป็นปัญหาอย่างมากเพราะมีแม่บางคนค้าประเวณี  มีแม่บางคนที่ติดเชื้อ HIV และวัณโรค  แต่เด็กไม่ยอมที่จะถูกะรากออกจากกัน   และมีบางกรณีศึกษาที่พาแม่ไปรักษาตัวแล้วแต่ กรณีศึกษาหนีมาพาลูกออกจากสถานสงเคราะห์ก็มี  แม่กับลูกบอกว่าจะตายพร้อมกัน

              -ตาเอาหลานตระเวนพาไปหาแม่  เป็นกรณีศึกษาที่สังคมโซเซียลให้ความสนใจ  จนเปิดบัญชีในการรับบริจาค  แต่ความจริงของตากับแม่ของเด็กอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา  เด็กเป็นลูกของตา  แต่เรื่องกับโด่งดัง กลายเป็นช่องทางที่ตาหากินบุญความเชื่อว่าเลี้ยงดูเด็ก   ซึ่งปัจจุบันเด็กทั้งสองคนอยู่ที่สถานสงเคราะห์บ้านสงขลา   ในขณะนี้เริ่มมีการเลียนแบบแบบกรณีศึกษานี้ในการหาเงินบริจาคในการดูแลเด็กที่ขาดแม่

                -กลุ่มแม่และเด็กที่เป็นชาวต่างด้าว  ชาวโรฮิงยา  มีกลุ่มนี้ทุกจังหวัดที่อาศัยตลาดนัดหรือมัสยิดในวันศุกร์  ออกเร่ร่อนขอทานตามสถานที่ต่างๆ  เดิมจะไม่มีคนกลุ่มนี้มาเช่าบ้านอยู่ในชุมชน  แต่ปัจจุบันเช่าบ้านอยู่ในบริเวณเดี๋ยวกัน  แล้วแยกแยะกันออกไปขอทานตามที่ต่างๆ  มีการว่ากล่าวตักเตือนจากผู้นำทางศาสนา  แต่ก็ระบาดไปทุกจังหวัด  เป็นปรากฎการณ์ที่ละเอียดอ่อนในเรื่องศาสนาเป็นอย่างมาก

              -กลุ่มแม่และเด็กชาวพม่า  จะออกมาเร่ร่อนขอทานในช่วงที่ครอบครัวไม่มีงานทำหรืออกทะเลไม่ได้  บางครั้งที่หัวหน้าครอบครัวถูกจับ  แม่ก็จะตระเวนกันออกไปขอทาน  แล้วก็จะกลับมาพักที่นายจ้างหาที่พักให้  มีการพูดคุยกันหลายครั้ง แต่ก็เจอปัญหาตรงที่ว่าการอนุเคราะห์จากหน่วยงานภาครัฐจะยากเพราะเป็นคนต่างด้าว    และเริ่มมีเด็กหญิงสาวหลายคนที่ติดตามครอบครัวมาแล้วไม่มีงานทำเริ่มเข้าไปสู่การทำงานตามร้านอาหาร และเสริฟอาหาร  มีบางรายเข้าไปร้านคาราโอเกระ  แล้วไปสู่การค้าประเวณีก็มี   ปัญหาที่พบ คือเด็กเหล่านี้ไม่มีความรู้ ไม่รู้จักเรื่องเอดส์ หรือการป้องกันตัวเอง  และไม่มีเอกสารแสดงตน

            -กลุ่มแม่และเด็กเป็นชาวกัมพูชา  ส่วนมากเป็นกรรมกรก่อสร้างที่มาทำงานกันทั้งครอบครัว  แต่เมื่อหัวหน้าครอบครัวถูกจับ  แม่ก็จะตระเวนนำลูกเล็กและโต  ตระเวนกันออกขอทาน  จะพบมากที่หาดใหญ่ กระบี่ ภูเก็ต  และแหล่งท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก  ถึงแม้หน่วยงานภาครัฐจะลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องก็ยังพบกลุ่มนี้เป็นประจำ

             จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งที่พบจากกลุ่มเสี่ยงของปัญหาเด็กและเยาวชน  คือ เด็กออกจากโรงเรียนกลางคันจำนวนมาก  หรือบางจังหวัดที่สงขลา มีโรงเรียนขององค์กรพัฒนาเอกชนเกิดขึ้นเพื่อรองรับเด็กกกลุ่มนี้ เด็กไปโรงเรียนเพียงอาทิตย์ละ 1 ครั้งเท่านั้น  ในชุมชนบางชุมชนทางครูที่ทำงานเข้าไม่ได้เพราะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด  หรือไม่ให้ความร่วมมือใดใดทั้งสิ้น

            เรื่องยาเสพติด  คือการต้มน้ำกระท่อม  เป็นปัญหาใหญ่มาก  เด็กที่อยู่ในชุมชนต้มกินกันเองโดยไม่ผิดกฎหมาย  และส่งผลกระทบต่อเด็กในเรื่องการทะเลาะวิวาทกันเอง  แต่บางคนก็แข่งรถมอเตอร์ไซด์   มีปัญหาเรื่องการละเมิดทางเพศเข้ามาอีก

              ปัญหาเรื่องแม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร  มีสูงในเด็กกลุ่มเสี่ยง  แต่เมื่อท้องแล้วก็จะทิ้งไว้ให้เป็นภาระต่อพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย  เรื่องความรับผิดชอบของเด็กไม่มีเลย

 

สถานการณ์เด็กเร่ร่อน  แม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ภาคเหนือ

เมื่อวันที่        2560  ณ.จังหวัดเชียงใหม่

มีพี่น้องคนทำงานด้านเด็กด้อยโอกาสที่รวมถึงเด็กเร่ร่อน จำนวน กว่า 40 คน ที่มาจากทีมบ้านพักเด็กและครอบครัว ทีมงานของสถานสงเคราะห์ ที่สังกัด กรมกิจการเด็กและเยาวชน  ครูสอนเด็กด้อยโอกาสในเขตเมืองที่สังกัดเทศบาลต่างๆ    มูลนิธิบ้านครูน้ำ   มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก  พร้อมเครือข่าย การทำงานจังหวัดเชียงราย  ซึ่งได้ร่วมกันเรียนรู้ ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน ทักษะการทำงาน  พร้อมช่วยกันสะท้อนปัญหาของเด็กในจังหวัดภาคเหนือ

              กลุ่มเด็กเร่ร่อนมีทั้งกลุ่มเร่รอนไทย กลุ่มเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  ซึ่งมีทั้งมาคนเดียวและเด็กมาพร้อมแม่หรือพ่อ หรือญาติ  รวมถึงเด็กที่อยู่ในชุมชนที่อยู่ในเขตเมืองสังกัดเทศบาลต่างๆ ที่พบปัญหาที่เด็กเร่ร่อนหรือกลุ่มเด็กด้อยโอกาส อาศัยอยู่ ในจำนวนกว่า 578  ชุมชน  โดยเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ขอแยกออกเป็น ดังนี้

           1.ปัญหาของเด็กเร่ร่อนที่ออกมาเร่ร่อนตามลำพังมีจำนวนมากขึ้น แต่กลายเป็นเด็กกลุ่มวัยรุ่น   ที่เป็นทั้งเด็กไทย เด็กชนเผ่า  และเด็กพม่าที่เข้ามาในประเทศ

                -กรณีที่เป็นเด็กวัยรุ่นไทย มีเด็กบางส่วนที่เคยเร่ร่อนจากกรุงเทพมหานคร หรือบางคนมาจากพัทยา   แล้วมาเร่ร่อนหรือบางขายบริการทางเพศที่เชียงใหม่ เชียงราย  สถานที่ท่องเที่ยว  บางคน ซื้อตัวมากับนักท่องเที่ยวที่เป็นเพื่อนเที่ยว   เมื่อต้นปีมีการทลายบ้านที่นักท่องเที่ยวเช่าบ้านแล้วซื้อบริการเด็กเร่ร่อนมาถ่ายหนังโป๊ หรือถ่ายขณะที่ร่วมหลับนอนกับเด็ก

             -กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่เป็นชนเผ่า  เป็นเด็กที่เคยขายสินค้าพื้นเมืองตามตลาดไนท์พล่าซ่าจังหวัดต่างๆ   เมื่อขายได้สักระยะเวลาหนึ่ง  เห็นว่าการขายบริการทางเพศได้เงินเร็วมาก  ก็จะมีการรวมตัวกัน  เช่าห้องพัก  หรือบางคนก็ก็มาเร่ร่อนขอเงินนักท่องเที่ยว ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เชียงใหม่ เชียงราย  น่า เป็นต้น

               -มีกลุ่มเด็กเร่ร่อนที่อยู่ในเมืองเมียวดี  ข้ามชายแดนมารับจ้างทำงานขัดรถจักรยานยนต์ หรือแบกสิ่งของตามชายแดน   เมื่อถึงเวลาเย็นก็อาศัยหลับนอนตามสะพานข้ามแม่น้ำเมย หรือที่เกาะกลางระหว่างของสองประเทศกลายเป็นพื้นที่เถื่อน

                -มีกลุ่มเด็กเร่ร่อนเหล่านี้รวมตัวกันเคลื่อนย้าย จากแม่สอด  ซึ่งมีชุมชนเป็นชาวโรฮิงยา  แล้วมาเร่ร่อนหรือมาอยู่กับญาติที่ซอยนานา  และชุมชนคลองตัน   โดยเน้นการขายดอกไม้และขายพวงมาลัยในช่วงกลางคืน  เด็กเหล่านี้ไม่มีเอกสาร

              -กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่มาพม่า หลายชนเผ่าเหมือนกัน ตั้งแต่กะเหรี่ยง ขมุ อาข่า  ส่วนมากจะมาเมืองที่เป็นนักท่องเที่ยวโดยตรง  ส่วนมากจะครอบครัวก่อน  แต่เมื่อเด็กโตขึ้น  จึงแยกตัวออกมาอยู่ตามลำพังหรือกลุ่มเพื่อน  ในกลุ่มนี้เริ่มมีเด็กป่วยด้วยโรคเอดส์บ้างแล้ว

             -กลุ่มเด็กผู้หญิงที่ไปทำงานที่บ่อนบริเวณชายแดนแม่สาย แม่สอด เชียงของ  เชียงแสน เริ่มจากขาบดอกไม้ให้แก่นักท่องเที่ยว  แต่บางคนก็เข้าเป็นพนักงานในบ่อน  จนบางคนก็ขายบริการทางเพศ   มีบางคนที่ป่วยพร้อมกับออกมาเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆ  เช่น กรณีของเด็กลาว  เด็กอาข่า เป็นต้น

                กลุ่มที่ออกกลางคันแล้วไม่ยอมกลับเข้าไปเรียน รวมตัวกันเป็นแก๊งค์เคลื่อนย้ายกันไปเรื่อย เรื่อย จากจังหวัดนครสวรรค์ ไปจังหวัดพิจิตร และพิษณุโลก   และบางรายก็ออกเร่ร่อนขอเงินในจังหวัดที่ไปเยี่ยม และเริ่มเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและกระทำความผิด


                มีเด็กบางคนที่ถูกทิ้งให้อยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย แล้วแม่ของเด็กก็จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม  พอมีลูกเอาลูกให้ผู้ใหญ่เลี้ยง ตัวเด็กเองก็ไปเรื่อย เรื่อย  บางคนก็เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือค้าประเวณี  เงินก็ไม่ส่ง  เด็กๆได้รับผลกระทบทั้งภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว และความอบอุ่น  เด็กเหล่านี้ก็ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน   โดยเฉพาะที่ครอบครัวของเด็กวัยรุ่นอยู่ในเขตชุมชนแออัดเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ

              2.กลุ่มเด็กที่ออกมาทำงานบนถนน  เป็นกรณีที่เกิดมาจากครอบครัวใช้แรงงานของเด็ก ในขณะนี้มีเกือบทุกจังหวัด เพราะเป็นช่วงการท่องเทียว  ตั้งแต่ครอบครัวนำเด็กซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์   ให้ไปขายของ   สินค้าพื้นเมือง   พวงมาลัยดอกไม้สด ดอกไม้กุหลาบ  หรือบางครั้งก็เป็นขนมที่ไปรับมาจากในตลาด  ถั่วต้มก็มี     มีเด็กเหล่านี้ทั้งชายแดน และในตลาดของเทศบาลต่างๆ

              -มีเด็กที่ขายพวงมาลัยตามสี่แยก พร้อมกับพ่อแม่ของเด็ก   สามแยกไฟแดง  สิ่งของที่ขายเป็นถัวต้ม ฝรั่ง มะม่วง   บางครั้งมีเด็กเล็กเกินไปที่ทำงานกับครอบครัว

                -มีกลุ่มผู้หญิงที่เอาลูกผูกสะพ่ายหลัง    เดินขายซีดีเถื่อนในตลาดแม่สาย  หรือบางคนเด็กก็จะหลับพับไปกับหลังแม่โดยตรง  

              3.กลุ่มแม่และเด็กไทย และกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว   ที่เร่ร่อนกันมาขายของ บางครั้งก็เร่ร่อนไปขอทาน 

           -กลุ่มแม่และเด็กที่เป็นคนไทย แม่ป่วยเป็นจิตเภท แล้วพาลูกชายหรือลูกสาว เดินทางจากสุโขทัย  มาขอเงินที่ในตัวเมืองอยุธยา   แล้วก็เดินกลับสุโขทัย  เดินขอเงินพร้อมขออาหารการกินไปเรื่อย เรื่อย   แต่ปัญหาคือแม่ป่วย    ทางบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสิงห์บุรี  จึงมีการประสานงานกลับไปที่สุโขทัย

             -กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  มีหลายสิบครอบครัว เป็นชาวอาข่า ที่อพยพไปมาขายของที่ในกรุงเทพ  ตั้งแต่พื้นที่ข้าวสาร พัฒนพงษ์   ซอยนานา   ตลาดประตูน้ำ   ตลาดมีนบุรี   ตลาดรังสิต  ตลาดนวนคร  เป็นต้น   โดยมีวิธีการ   ถักทอ หรือซื้อสินค้าพื้นเมือง  ของเล่นตามชายแดนมา โดยใส่ตระกร้า  แล้วนำตะกร้าเหล่านี้ขึ้นรถไฟฟรีมาลงมาสถานที่ต่างๆ    โดยจะอยู่กันเป็นกลุ่ม ประมาณ 7-10  คน  ซึ่งมีเด็ก เด็ก ติดตามมาด้วย   บางครอบครัวก็ใช้เด็กเป็นคนนั่งขาย   โอกาสในการจะทิ้งเด็ก และใช้เด็กเป็นเครื่องมือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น   เด็กเองก็ขาดโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  และด้านสุขภาพ  และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

            - กลุ่มที่พาลูกเคลื่อนย้ายไปตามภาคใต้  ภาคกลาง   ซึ่งเด็กเองพาส่วนที่ได้เรียนหนังสือ แต่การติดตามครอบครัว(โดยเฉพาะแม่)  เด็กออกจากโรงเรียนกลางคัน  แล้วทำให้เด็กไม่อยากเรียน  เมื่อขายสินค้าได้เด็กเลยออกมาขายของ ทำให้เด็กบางคนเป็นเด็กชนเผ่า อ่าน เขียน    ภาษาไทยไม่ได้เลย    บางคนเริ่มเข้าสู่การขายบริการทางเพศ  หรือการเข้าไปเป็นพนักงานเสริฟตามร้านอาหาร  ร้านคาราโอเกะ   แล้วเข้าสู่วงจนการค้ายาเสพติด  


            -กลุ่มแม่ที่เป็นคนต่างด้าว แล้วติดยาเสพติด  ซึ่งมีทั้งแม่คนไทย และคนต่างด้าว  เมื่อแม่เหล่านี้ป่วย หรือต้องการสถานที่ดูแล  ในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่ต้องประสานงานกันในพื้นที่   แต่ละหน่วยงานก็ไม่ได้รับดูแลส่งต่อกันจนเคสเหล่านี้ออกมาใช้ถนนอีกครั้งหนึ่ง

          -มีกลุ่มแม่และเด็กที่พาลูกออกขอทาน แล้ว  มีทำผิดกฎหมายเข้าเมือง  หรือบางเคสก็มีการลักสิ่งของ  หรือการทะเลาะกันเอง  ทำร้ายร่างกาย   มีแม่หรือพ่อของเด็กใช้ความรุนแรงกับลูก เช่นการบังคับให้ขายของ เดินยาเสพติด   แม่หรือพ่อต้องเข้าไปรับโทษในเรือนจำ  เด็กบางคนจำเป็นต้องมีการส่งเข้าสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรพัฒนาเอกชน  ทำให้ความเป็นครอบครัวต้องยุติบทบาทของแม่หรือพ่อ    บางคนเมื่อกลับคืนสู่ครอบครัวแล้ว  แม่หรือพ่อมีครอบครัวใหม่ เข้ากันไม่ได้ทำให้คืนเด็กสู่ครอบครัวเดิมไม่ได้  กลายเป็นว่าเด็กถูกปฏิเสธ

             -มีกลุ่มแม่ที่เอาลูกให้มาเป็นลูกบุญธรรมของคนไทย หรือทิ้งไว้ให้คนไทยได้เลี้ยง  บางครอบครัวเลี้ยงจนโตแต่ไม่มีเอกสารให้เด็ก  บางคนเด็กต้องหลบซ่อนตัวไม่ออกไปไหนเพราะมีปัญหาเรื่องเอกสาร

                -มีแม่ที่เอาลูกไปขายให้ครอบครัวคนไทย  เช่นที่อำเภอแม่สอด   จังหวัดตาก  หวังว่าจะให้ลูกได้เรียนหนังสือ ...ครอบครัวที่รับเด็กไป นำเด็กไปใช้แรงงาน หรือคนรับใช้อยู่ในบ้านจำนวนมาก  ทำให้เด็กถูกขายและไม่ได้รับการดูแลตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

 

สถานการณ์เด็กเร่ร่อน  แม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ภาคกลาง

เมื่อวันที่   15-16  สิงหาคม      2560  ณ.โรงแรมแกรนด์ไชน่า  กรุงเทพมหานคร

มีพี่น้องคนทำงานด้านเด็กด้อยโอกาสที่รวมถึงเด็กเร่ร่อน จำนวน กว่า 30  คน ที่มาจากทีมบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร  ทีมงานของสถานสงเคราะห์ ที่สังกัด กรมกิจการเด็กและเยาวชน  ครูสอนเด็กด้อยโอกาสในเขตเมืองที่สำนักการศึกษานอกระบบพญาไท  ครูสอนเด็กด้อยโอกาสเทศบาลชัยนาท  เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร  กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน  โครงการตำรวจรถไฟฟ้าข้างถนน   มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก   มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล   มูลนิธิต่อต้านการค้ามนุษย์และล่วงละเมิดทางเพศ   ซึ่งได้ร่วมกันเรียนรู้ ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน ทักษะการทำงาน  พร้อมช่วยกันสะท้อนปัญหาของเด็กในจังหวัดภาคกลาง

สถานการณ์ของเด็กเร่ร่อน  กลุ่มเด็กที่ออกมาทำงานบนถนน  กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนขอทาน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  แต่เวลาในการขอทานหรือการออกมาเร่ร่อน ด้วยเหตุการณ์กวาดล้างของหน่วยงานศูนย์ปฏิบัติการขอทาน  ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.  2559  มีดังนี้

                1.ปัญหาของเด็กเร่ร่อนที่ออกมาเร่ร่อนตามลำพังมีจำนวนมากขึ้น แต่กลายเป็นเด็กกลุ่มวัยรุ่นไทย  มีบางชุมชนที่เป็นกลุ่มเด็กเร่ร่อนเด็กกัมพูชาและโรฮิงยา

               -กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่อยู่พื้นที่สะพานพุทธ  เริ่มโตเป็นวัยรุ่น อายุเกินเด็กและเยาวชน  แต่ก็ยังอาศัยอยู่ที่พื้นที่ จนมีบางคนมีครอบครัวแต่ก็ยังไม่หยุดเร่ร่อน  แต่มีเด็กใหม่เข้ามาอยู่ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น

             -กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่ชุมชนกีบหมู   มีทั้งเด็กไทยและเด็กชาวกัมพูชา  มีจำนวนกว่า  19 คน    มีเด็กจำนวน 6 คน  ที่เข้ารับการคุ้มครองที่สถานแรกรับบ้านภูมิเวท    ส่วนมากเป็นเด็กที่ออกกลางคัน  และมีเด็กบางคนที่เคลื่อนย้ายตามพ่อหรือแม่มาอยู่ในชุมชน  อายุของเด็กยังเข้าทำงานไม่ได้   เด็กเหล่านี้จะฝังตัวอยู่ในร้านเกมทั้งวันและคืน     กลางคืนก็จะพากันเร่ร่อนไปนอนตามหน้าร้านสะดวกซื้อ  หรือตามตลาดที่ขายของ  ไม่ยอมเข้าห้องพักกับครอบครัว    อยู่ได้ด้วยการขอทาน

              -กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่ชุมชนประชาอุทิศ  เป็นเด็กไทยและเด็กลาว  ที่พ่อแม่มาทำงานในโรงงานบริเวณวัดครุใน วัดครุนอก   มีเด็กออกกลางคันจำนวนกว่าสืบสี่คน  ออกมาใช้ชีวิตตามลำพัง  อาศัยร้านเกมเป็นที่นอนในช่วงกลางคืน  ประสานส่งต่อได้หนึ่งเคส  ยังมีการเร่ร่อนในชุมชนประชาอุทิศจากซอย 45 จนถึง ซอย 61

               -กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่ชุมชนแยกลาดพร้าววังหิน   เป็นกลุ่มเด็กที่อยู่ในชุมชนวังหิน  เด็กออกจากโรงเรียนกลางคัน  เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมไปเรียนหนังสือ  หมกตัวอยู่ในร้านเกม    ส่งไปคุ้มครองสวัสดิภาพจำนวน คน   ปัจจุบันที่เด็กอยู่ที่สถานแรกรับบ้านภูมิเวทและไปเรียนหนังสือที่วัดกลางเกร็ด   แต่ยังส่งคืนครอบครัวไม่ได้  เพราะครอบครัวของเด็กยังไม่พร้อม

               -กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่อยู่พื้นที่หัวลำโพง และข้างเคียง วงเวียน 22  บริเวณแถววงเวียนใหญ่   เป็นเร่ร่อนวัยรุ่นทั้งชายและหญิงกว่า 15 คน อาศัยหลับนอนที่ศูนย์เดอะฮับ    และกลุ่มเด็กผู้หญิงใช้พื้นที่วงเวียนใหญ่  เป็นสถานที่ขายบริการทางเพศ   มีการแพร่ระบาดของโรคเอดส์  เด็กกลุ่มนี้บางคนในช่วงกลางวันหลบเข้าไปนอนที่ชุมชนวัดดวงแข   กลางคืนเด็กบางคนลักทรัพย์  และลักขโมยสิ่งของมาเป็นอาหารเย็น  แต่บางคนก็นอนอยู่ในร้านเกมตลอดวันและคืน 


               -กลุ่มเด็กเร่ร่อนวัยรุ่นที่พื้นที่อโศก    ส่วนมากเป็นเด็กในชุมชนคลองเตย  และชุมชนแยก อสมท.   กลางคืนจะออกมาเช็คกระจกรถ  หรือบางคนมาขายสินค้า รับจ้างเข็นรถเสื้อผ้า หรือบางคนก็ตั้งร้านขายของ 

               -กลุ่มเด็กเร่ร่อนพื้นที่รังสิต ซึ่งเป็นเด็กในชุมชนจำนวน 8 คน  ออกจากโรงเรียนกลางคัน  รวมตัวกันในช่วงกลางคืน  ไปตามร้านอาหารและท่ารถต่างจังหวัด  และอาศัยกินนอนอยู่ในร้านเกม

                -กลุ่มเด็กเร่ร่อนอยู่ใต้ทางด่วนสุขุมวิท   มีเด็กเร่ร่อนทั้งชายและหญิงกว่า 10 คน  อาศัยนอใต้ทางด่วน   โดยช่วงกลางคืนไปรับจ้างเข็นของ  หรือบางคนก็ขอทานอย่างเดียว  อยู่ในช่วงอายุ 9-13 ปี

             -กลุ่มเด็กที่ออกจากโรงเรียนที่เทศบาลชัยนาท  กว่า 7 คน  ทางเทศบาลได้กระบวนการครูเดินสอนตามบ้าน  ติดตามเด็กจนถึงที่บ้านจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของเด็ก  ตามความต้องการของเด็ก

               -กลุ่มที่เมืองพัทยามีการเคลื่อนย้ายมาจากกรุงเทพมหานคร  บางคนมาจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   แล้วมารวมตัวทั้งเร่ร่อนขอทาน เก็บขยะ  บางส่วนเข้าสู่การขายบริการทางเพศ  และได้ติดโรคเอดส์    รวมทั้งการตกเป็นเครื่องทางเพศในการถ่ายทำหนังโป๊ หรือหนังเอ๊กซ์  แก่ชาวต่างชาติ  

            -กลุ่มเด็กเร่ร่อนระหว่างชายแดน ปอยเปต  ด่านอรัญประเทศ   ยังมีเด็กเร่ร่อนมาทำงานแบบไปกลับ   มีบางคนที่นอนค้างฝั่งไทย  ถึงแม้จะมีกฎหมายห้าอย่างไร  เด็กเร่ร่อนฝั่งไทยก็ยังมีอยู่      สำหรับเด็กเร่ร่อนด่านบ้านแหลม  จังหวัดชลบุรี การข้ามชายแดนสะดวกยิ่งกว่า จังหวัดพระตระบองกับด่านเด็กข้ามผ่านสะดวกมาก

            2.กลุ่มเด็กที่ออกมาทำงานบนถนน  เป็นเด็กที่ติดตามครอบครัวมาทำงานบนถนน  ซึ่งมีหลายรูปแบบ

              -กลุ่มเด็กที่ออกมาขายพวงมาลัยขายดอกจำปี  บริเวณชุมชนโค้งรถไฟยมราช  ซึ่งมีคณะทำงานแก้ไขปัญหา  แต่เด็กก็ยังยินดีที่จะช่วยเหลือครอบครัว มีเด็กบางคนหารายได้เป็นตัวเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้เด็กได้ไปโรงเรียน

               -กลุ่มเด็กอีกจำนวน  29 ครอบครัว เป็นกลุ่มเด็กเล็ก  ที่พากันออกมาจากชุมชนในช่วงเวลา หนึ่งทุ่มจนถึง ตีสอง  เด็กบางคนขายของช่วยครอบครัว แต่มีเด็กเล็กกว่า 20 คน ที่แต่งตัวเป็นชาวมุสลิม ขอเงินนักท่องเที่ยว  ที่ซอยนานา  มาจากชุมชนโค้งรถไฟยมราชและชุมชนคลองตัน

              3.กลุ่มแม่และเด็กไทย และกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว   ที่ใช้ถนนเป็นที่ทำมาหากิน โดยมีความหลากหลาย

               -ครอบครัว ที่ชุมนโค้งรถไฟยมราช จำนวน สองครอบครัว ที่มีการจับกุมนำเด็กและแม่ ส่งเข้าคุ้มครองสวัสดิภาพ ณ. บ้านพักเด็กและครอบครัว มีจำนวน ลูก 6 คน  มีการจัดประชุมเคสเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ  ปัจจุบันเด็กได้รับการดูแลจากครอบครัวและญาติ  เด็กได้เรียนหนังสือ  โดยมีการติดตามจากคณะทำงาน

                -กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวจำนวนกว่า 40 ครอบครัวที่ถูกจับโดยตำรวจท้องที่ ใช้กฎหมายการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551   ทางอัยการสั่งไม่ฟ้องมีการใช้กระบวนการกฎหมายในการแยกแม่ลูก โดยการพรากครอบครัวด้วยกฎหมาย  ส่วนมากแม่พาลูกออกมาขอทาน 

            -กลุ่มที่แม่ถูกจับไปยังสถานคนไร้ที่พึ่ง แล้วทิ้งเด็กอยู่ตามลำพัง  ซึ่งต้องหากระบวนการช่วยเหลือเด็กต่อไปเพราะเด็กกำลังเรียนหนังสืออยู่  ควรที่จะจัดหาร “กองทุนสำหรับเด็กเรียนหนังสือ”  หรือ “การจัดตั้ง “กองทุนฉุกเฉิน”

              -ครอบครัวของเด็กทั้งครอบครัว พากันมาอาศัยใต้ทางด่วนเป็นที่อยู่อาศัย  แต่ปัญหาคือความไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ที่พักอาศัยไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก  สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการดูแลเด็ก  แต่ครอบครัวยืนยันการใช้ชีวิต  ครอบครัวเด็กไทย  และครอบครัวต่างด้าว

            -ครอบครัวของเด็กมีสิบสองครอบครัว ที่พาลูกหนีเพราะไม่ต้องการให้ลูกรับสวัสดิการสังคม เด็กไม่ได้เรียนหนังสือ พร้อมทักษะด้านต่างๆ  จึงต้องมีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้เด็กได้รับสวัสดิภาพ


 สถานการณ์ของเด็กเร่ร่อน ณ. ปัจจุบัน

               เป็นคำถามยอดฮิต ว่าในประเทศไทยมีจำนวนเด็กเร่ร่อนเท่าไร   คนทำงานด้านเด็กเร่ร่อนพยายามที่จะหาคำตอบ แต่ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่แท้จริง 

               เริ่มตั้งแต่ ปี  2531-2534  มีเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยที่มีประวัติอยู่ในความดูแลของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน 2,736 คน(แต่มีเด็กเร่ร่อนที่ไม่ได้เข้าค่ายการสำรวจอีกจำนวนมาก)

            ในปี 2535  องค์กรเครือข่ายการทำงานเพื่อเด็กเร่ร่อนได้คาดการณ์ว่ามีเด็กเร่ร่อน จำนวน 13,000 คน (จากการที่เริ่มมีโครงการครูข้างถนนกระจายไปตามเมืองใหญ่  พร้อมกับหน่วยงานภาครัฐได้มีการทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนและด้อยโอกาส กว่า 20 องค์กร)

              ในช่วงปี 2546-2548 มีการคาดการณ์ว่ามีเด็กเร่ร่อนจำนวน  14,000-16,00 คน  (จำนวนตัวเลขเพิ่มขึ้น ด้วยว่าหน่วยงานที่มีโครงการ ขยายออกไปยังภูมิภาค  พร้อมทั้งมีตัวครูข้างถนนที่เต็มตัวลงทำงานในพื้นที่มากขึ้น)

ในปี พ.ศ.2549-2551  ได้มีกี่คาดการณ์ว่ามีเด็กอยู่บนถนน จำนวน 16,000-20,000 คน  (การมีการทำงานช่วยเหลือกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น) เริ่มมีนักวิชาการ และครูครูข้างถนน ได้เน้นการถอดบทเรียนครูข้างถนน ทั้งประเทศ   เริ่มมีองค์กรภาครัฐและองค์กรเอกชนที่ทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนเพิ่มมากขึ้น  รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ  องค์กรที่เป็นชาวต่างชาติแต่จัดตั้งองค์กรช่วยเหลือเด็กประเทศต้นทาง  เช่นเด็กชาวกัมพูชา  เด็กพม่า เป็นต้น

              ในปี พ.ศ. 2553-2555  มีการคาดการณ์ว่ามีเด็กเร่ร่อนจำนวน  20,000-25,000 คน  (จำนวนของครูข้างถนนที่ลงพื้นที่ในหน่วยงานของภาครัฐ  และองค์กรระหว่างประเทศ  เริ่มมีประเด็นนำเรื่องเด็กเร่ร่อนขอทานไปเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์  ทำให้มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนขอทาน

             ในปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน  มีการคาดการณ์ว่ามีเด็กเร่ร่อนไทย  จำนวน 30,000 คน  ที่เร่ร่อนตัวตัวคนเดียว  เด็กเร่ร่อนวัยรุ่นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หรือบางคนเร่ร่อนทั้งครอบครัว   กลายเป็นการตีความที่มีปัญหา  ซึ่งในปีนี้มีเรื่องไกด์ไลน์ของเด็กเร่ร่อนมาร่วมพิจารณาด้วย

              เด็กเร่ร่อนต่างด้าวที่ติดตามครอบครัวอาศัยทำมาหากิน  หรือการใช้ชีวิตในประเทศไทยทั้งเด็กเร่ร่อนชาวกัมพูชา  เด็กเร่ร่อนพม่า  เด็กเร่ร่อนชาวเวียดนาม เด็กเร่ร่อนชาวโรอิงยา  และเด็กเร่ร่อนชนกลุ่มนี้  มีการประมาณการณ์ว่า ไม่น้อยกว่า  20,000 คนทั่วประเทศ(นับรวมแม่หรือพ่อเด็กด้อย)

              ในปี พ.ศ. 2560  คาดการณ์ว่ามีเด็กเร่ร่อนในประเทศไทย ทั้งเด็กไทยและเด็กต่างด้าวไม่น้อยกว่า 50,000  คน  ที่อยู่ตามพื้นที่สาธารณะ  ถนน บ้านร้าง สถานีรถไฟฟ้า  เป็นต้น

 

จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กเร่ร่อน ทั้งการจัดสัมมนา การพบปะเด็กในการจัดค่าย  ซึ่งมีประเด็นเรียกร้องจากคนทำงานและครูข้างถนน

ข้อเสนอต่อการพัฒนาเด็กเร่ร่อน

             1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานพัฒนาเด็กเร่ร่อน ควรมีการเพิ่มจำนวนครูในครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะเด็กเร่ร่อนมีจำนวนมากขึ้น สืบเนื่องมาจากเด็กออกโรงเรียนกลางคัน และเด็กใช้ชีวิตอยู่ในร้านเกมมากขึ้น เร่ร่อนแบบปัจเจกบุคคล และเป็นเด็กเร่ร่อนที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น   ยังขาดบ้านสำหรับการรองรับกับเด็กกลุ่มนี้

              2.การหาแนวทางแก้ไขให้เด็กเหล่านี้หยุดเร่ร่อน ต้องเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้ฝึกอาชีพคู่กับการศึกษานอกระบบโรงเรียน หรือการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น

               3.การหาแนวทางในการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ในการทำงานอิสระ การฝึกอาชีพอิสระ ควบคู่กับการฝึกทักษะไปด้วย  อาจต้องศึกษาแนวทางเรื่องธุรกิจเพื่อเด็ก  หน่วยงานของเทศบาลอาจจะต้องมีบ้านพักสำหรับเด็กเร่ร่อน หรือกลุ่มเสี่ยงในท้องถิ่น  เป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน  อาจใช้พื้นที่โรงเรียนขนาดเล็กที่ยุติการดำเนินการ  และรูปแบบการทดลอง

ข้อเสนอในการพัฒนาครูข้างถนน

            1.เรื่องบุคลากรในการทำงานเด็กเร่ร่อนความมั่นคงของบุคลากร  ที่สังกัดตำแหน่งครูสอนเด็กด้อยโอกาส สังกัด กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย,   เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม  ศูนย์สร้างโอกาส  สำนักงานพัฒนาสังคม  กรุงเทพมหานคร,    เจ้าหน้าสอนเด็กด้อยโอกาส  สำนักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตมอัธยาศัย  กระทรวงศึกษาธิการ  เป็นต้น 

               2.เรื่องบุคลากรขององค์กรพัฒนาเอกชน ที่ดูแลเด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาส ทุกหน่วยงานประสบปัญหางบประมาณในการดำเนินการช่วยเหลือกรณีศึกษาหรือเคส ที่เด็กเร่ร่อนที่เพิ่มขึ้น   แลละเงินเดือนของคนทำงานด้านเด็กเร่ร่อน

               3.ควรมีการเสริมทักษะให้คนทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนทั้งในด้านกฎหมาย การเก็บข้อมูล  การถอดบทเรียนที่ได้ทำงานช่วยเหลือ การส่งต่อความช่วยเหลือของเคส   การส่งเคสกลับประเทศต้นทาง  การทำงานช่วยเหลือเคสกรณีที่เป็นแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวในกระบวนการยุติธรรมที่แยกแม่แยกลูก   การทำงานช่วยเหลือกรณีที่เด็กเร่ร่อนติดยาเสพติด เด็กเร่ร่อนติดโรคเอดส์  เด็กเร่ร่อนติดวัณโรค   เป็นต้น

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

               1.ควรมียุทธศาสตร์ด้านเด็กเร่ร่อนตามข้อเสนอของคณะกรรมการสหประชาติ ด้านสิทธิเด็ก  ข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 21 เรื่อง เด็กเร่ร่อนบนถนน