banner
อังคาร ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ.2561 แก้ไข admin

ตรวจสุขภาพ...เด็กเร่ร่อนต่างด้าว

 


นางสาวทองพูล   บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

                 เมื่อ  ปี  ที่แล้ว  ครูเดินสำรวจบนถนนสุขุมวิท  อโศก   ซอยนานา   ประตูน้ำ    หน้าห้างพันธุ์ทิพ   มาบุญครอง    สยาม     พัฒพงศ์   สามย่าน  อนุสาวรีย์    สิ่งที่ครูพบเจอตลอดเวลาคือ  กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  จำนวนกว่า 600  คน  ที่กระจายกันอยู่ตามพื้นที่ ในชุมชนต่างๆ    เช่นบางกลุ่มจะอยู่ที่ชุมชนเปรมฤทัย     บางคนอยู่ที่ชุมชนสเตทสำโรง    บางคนอยู่ที่ชุมชนบ่อนไก่    อยู่ที่ชุมชนคลองตัน   ชุมชนพระประแดง    ชุมชนใต้ทางด่วน   ชุมชนซอยร่วมฤดี    เป็นต้น

                จากการลงพื้นที่  และเก็บข้อมูลสืบเสาะการพูดคุย  การสร้างความไว้วางใจ  และช่วยพวกเขาอย่างจริงใจ  ในการขอความช่วยเหลือ      เช่นเมื่อลูกไม่สบาย  ทำอย่างไรที่จะหายเจ็บป่วย    เมื่อลูกถูกจับ    ช่วยกันตามหาเด็กว่าอยู่ที่หน่วยงานไหน   หรือเมื่อถูกจับฝากเด็กไว้ชั่วคราวก่อน    หรือยายเลี้ยงแต่ไม่มีข้าวสารอาหารแห้ง  มาแบ่งปันกัน     เมื่อเวลาลูกหิว  แบ่งปันนม ขนม   ให้เด็กได้กิน

                สิ่งเหล่านี้    ใช้เวลานานกว่ากลุ่มแม่เด็กจะไว้วางใจ      การใช้เวลาและความจริงใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงาน    


                เริ่มด้วยเคสของแม่น้องฟ้า    มีลูกทั้งหมด คน  สามีที่อยู่กินด้วยกันมา กว่า  คนแล้ว     สามีคนสุดท้าย มีลูกด้วยกันสามคน   ซึ่งตั้งแต่อายุ   สองปี   หนึ่งปีหกเดือน     และสี่เดือน    ซึ่งอยู่ในช่วงที่เด็กจะเกิดอาการเจ็บป่วยได้บ่อย    และเมื่อมีอากาศเปลี่ยนแปลงก็ป่วย    และทุกครั้งที่ป่วยก็จะพาลูกออกมาขอทานเพื่อเอาเงินไปซื้อยา   ตามร้านค้าขายกินเท่านั้น    เมื่อหายก็ไม่ต้องพาไปหาหมอ    การที่พาไปหาหมอที่โรงพยาบาล  จะต้องใช้เงินมาก  และบางโรงพยาบาลก็ไม่รักษาให้   แถมขึ้นป้ายว่า โรงพยาบาลนี้ไม่รักษาคนต่างด้าว     ไม่รักษาเด็กต่างด้าว     หรือบางโรงพยาบาลที่รักษาแล้วมีรายการโทรบอกตำรวจ    เพราะกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวกลุ่มนี้  เข้าเมืองมาผิดกฎหมายกว่าร้อยละ 90 %   เรื่องโดนจับเป็นปกติของพวกเขา   

                สำหรับคนทำงานอย่างครู   เรื่องเหล่านี้มันไม่ยุติธรรม  แต่ต้องมีกระบวนการเก็บข้อมูลและเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากพวกเขา    เรื่องเล่าของพวกเขามีมากมายจริงๆ

                เมื่อได้รับความไว้วางใจ  บ้านครูมุ้ยที่อยู่ในชุมชนเปรมฤทัย    เพราะกลุ่มแม่และเด็กส่วนหนึ่งอยู่กันที่ชุมชนนี้    จึงเริ่มทำงานกันเป็นรายกรณี    เน้นกลุ่มเด็กที่อยากเรียนหนังสือก่อน  เอาเข้าเรียนแล้วหน้าที่ของครูคือการต่อรอง  ไม่ให้เด็กที่เข้าเรียนออกไปขอทานกับแม่    เด็กเองก็ได้พยายามพูดคุยกับคนในครอบครัว  ให้หยุดขอทาน  หางานทำ    และเด็กเองก็โต ก็ได้เรียน  จึงเป็นเงื่อนไขกับแม่เด็กเหล่านี้    จากการทำงานกับครอบครัวเด็กกว่า  27  ครอบครัว   เหลือเพียงแค่ ครอบครัวเท่านั้น  ที่ยังออกไปขอทานอยู่  

                แต่สิ่งที่ติดใจสำหรับการทำงานของครู  กรณีที่เจ็บป่วย  เด็กป่วยกันมาก   ครอบครัวของเด็กก็ป่วย  แต่ละเคสซึ่งหนักมาก  


                เริ่มจากกรณีที่หนึ่ง ครอบครัวของน้องเจมส์   ซึ่งแม่พาลูกออกไปขอทาน   แล้วโดนคนไทยซึ่งเมามากเหยียบที่เท้า  จนเด็กอักเสบ   และเด็กเองก็ป่วยเป็นการติดเชื้อในปอดอย่างรุนแรง   มีอาการในการรักษาโรค ความเป็นตายเท่ากัน  ในขณะที่ทั้งคุณหมอและครูพยายามอย่างมาก     ในการที่จะให้น้องเจมส์มีชีวิตรอดในครั้งนี้    ถือได้ว่าเป็นกรณีศึกษา    ทำให้ครูมาสนใจประเด็นสุขภาพสำหรับเด็กเร่ร่อนต่างด้าว   เพราะการรักษาน้องเจมส์ใช้เวลากว่า 14  วัน   หมดค่ารักษาพยาบาลไปกว่า  54,245  บาท    ต้องใช้กระบวนการเรี่ยไรค่าใช้จ่ายในการยืดชีวิตเด็กน้อยอีกหนึ่งชีวิตให้เขามีสิทธิในการใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป      เป็นตัวอย่างที่ใช้ในการพูดคุยเรื่องสุขภาพของเด็กอย่างเป็นรูปธรรม


                กรณีศึกษาที่สอง   แม่ของไผ่   ซึ่งครอบครัวนี้มีลูกทั้งหมด คน  มีสามีมาแล้ว ห้าคนเหมือนกัน   ตัวแม่เองป่วยเป็นโรคเอดส์   มีโรคแทรกซ้อนคือวัณโรค     ปัจจุบันสามีหนีหายไปหมด  ใช้ชีวิตอยู่ลูก  ลูกสามคนอยู่ในวัยเรียน    เด็กทุกคนได้เรียนเพราะทางครูมุ้ยสนับสนุนค่าอาหารและค่ารถไปโรงเรียน  ส่วนค่าใช้ประจำปี ครูจะเป็นคนหามาช่วยในตอนเปิดเทอม    เมื่อปลายปี 2559    แม่ของน้องไผ่ ถูกจับ  จากสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง   แม่น้องไผ่ถูกกักที่สวนพลู(เป็นห้องที่แบ่งเป็นชั้นระหว่างชายกับหญิง  ห้องหนึ่งประมาณ 80-100  คน  สำหรับผู้หญิงปนกันทั้งเด็กและผู้หญิงทั่วไป  ในขณะนั้นน้องไผ่ถูกส่งไปยังสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด  สำหรับแม่ที่ป่วยเป็นวัณโรคที่ขาดยาไปกว่าสองเดือนมีอาการทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  การอยู่ที่ห้องกักไม่ได้มีการแยกผู้ป่วยกันคนปกติ   ในครั้งนั้นครูต้องไปเยี่ยมและบอกแก่เจ้าหน้าที่ประจำห้องกักว่ามีผู้ป่วยวัณโรค  จึงมาอยู่กว่าสองเดือนแล้ว การแพร่ระบาดของโรคอยู่ในระหว่างการแพร่เพราะขาดยา   จึงตกลงกันที่จะส่งเคสนี้กลับประเทศเร็วที่สุด และทางครูต้องไปรับเด็กเองเพราะรอทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยังอีกนาน  จึงรับมาอยู่กับแม่  ทางสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนส่งเด็กตรวจร่างกายไม่พบว่าติดเชื้อจากแม่ทั้งโรคเอดส์และวันโรค  
                เมื่อแม่ส่งกลับไปที่ชายแดน  แม่กับเด็กก็รีบกลับมารับยาที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ (โรงพยาบาลปากน้ำ)  ตามที่เรียกกัน  แต่ละเดือนที่ไปรับยา แม่จะเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,100  บาท  ซึ่งทั้งหมดมีการขอความอนุเคราะห์แล้ว  ซึ่งยังไม่รวมค่ารถค่าอาหารในแต่ละครั้ง   ยาที่ได้มาแม่ของน้องไผ่จะกินแบบประหยัดและยืดเวลาให้ได้นานที่สุด  บางครั้งทั้งค่าเช่าห้องค่ายามาประจบกันพอดี  จึงต้องมีการออกไปขอทาน  เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัวและค่ายาของแม่น้องไผ่ด้วย

                จนเมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2560 แม่น้องไผ่กับน้องไผ่ ถูกศูนย์ปฏิบัติขอทานจับอีกครั้งมีการคัดกรองที่บ้านมิตรไมตรี  แล้วส่งแม่กับเด็ก ไปที่สถานคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี  จึงครั้งนี้แม่มีอาการป่วยอยู่ด้วยเพราะขาดยามาประมาณสองอาทิตย์ไม่ได้กินต่อเนื่อง วัณโรคจึงยังอยู่ในตัวของแม่น้องไผ่   ทางครูจึงมีการแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ของสถานคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี   จึงมีการส่งตรวจที่โรงพยาบาลชลประทาน  ให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องอีกครั้งกว่าหกเดือน   เมื่อพ้นการสงเคราะห์ทั้งแม่และเด็กมีความสมบูรณ์  เพราะได้กินยาอย่างต่อเนื่อง  น้องไผ่มีการตรวจซ้ำอีกแต่ก็ไม่พบว่ามีเชื้อ    ซึ่งถือว่าเป็นความโชคดีของเด็ก  แต่ต้องมีรายการเฝ้าระวังอย่างมาก

                สำหรับแม่น้องไผ่เอง  ถึงจะมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น  แต่ด้วยภาวะของวัณโรคที่ยังมีเชื้อโรคอยู่   เมื่อร่างการอ่อนแอ ไม่กินยา  ไม่มีการพบหมอตามนัด  จะส่งผลไปที่เด็กอีก



                กรณีที่สาม  ครอบครัวซาลิน(นามสมมุติ)  มีพ่อกับแม่ ซึ่งมีลูกทั้งหมดจำนวนหกคน เรียงกันมาตั้งแต่อายุ 16,15,13,11,9,และน้องคนสุดท้าย 2 ปี  ครอบครัวนี้รับจ้างแบกข้างสาร พร้อมทั้งทำงานรับจ้างทั่วไป  โดยมีพ่อ แม่ และลูกชาย ที่หาค่าใช้จ่ายในบ้าน  เป็นครอบครัวที่เข้ามาอยู่เมืองไทยตั้งแต่พ่อกับแม่เป็นวัยรุ่น   ครอบครัวนี้ ตอนนี้แม่เป็นวัณโรค   ซึ่งรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ(โรงพยาบาลปากน้ำ)  แม่ทำงานอย่างมากเรื่องเงินซื้อยาแม่จึงประหยัดอย่างมาก  เคยไปขอยาและรักษาต่อเนื่องที่ศูนย์สาธารณสุขที่ใกล้ที่พัก   แต่ถูกปฏิเสธว่าไม่มียาและควบคุมโรคไม่ได้  



  ตอนนี้ลูกชายคนที่หนึ่งอายุ 16 ปีติดวัณโรคเรียบร้อยไปแล้ว  ตอนนี้สงสารลูกชายอย่างมาก เพราะกินยาที่คุณหมอให้ก็จะมีอาการเพลียและอาเจียนอย่างมาก  จึงต้องยุติการทำงานมากว่า สี่เดือน  รายได้ก็ไม่พอกับค่าใช้จ่ายและอยู่กับกับลูกกว่าเก้าชีวิตด้วยกัน   แต่ยังไม่ได้มีการคัดกรองลูกคนอื่นถึงแม้คุณหมอที่โรงพยาบาลจะให้พาไปทุกคน  แต่ละครั้งที่ไปโรงพยาบาลค่าใช้จ่ายสูงมาก   จึงเลือกจะกินยาเท่าที่มีเท่านั้น  และพาครอบครัวมาอยู่ห้องเช่าที่ไกลจากคนอื่น  กลัวว่าเวลาไอหรือจามจะไปติดคนอื่นเข้า
   แต่สำหรับกัมพูชาด้วยกันไม่ได้มีครอบครัวไหนที่จะรังเกียจเพราะเกือบทุกครอบครัว หนึ่งในสมาชิกที่เป็นวัณโรค   กินยาแล้วก็จะมีชีวิตต่อได้



                กรณีที่สี่  เป็นคุณยาย ซึ่งอายุเจ็ดสิบกว่าปี ที่ป่วยเป็นวัณโรค   เดิมจะอยู่กับลูกสาว ลูกเขย และหลานกว่า หกคน   แต่เริ่มป่วยลูกเขยจึงเช่าห้องพักอีกห้องหนึ่ง  ซึ่งคุณยายจะเลี้ยงหลานแฝด ที่ชื่อ เด็กชายแรมโบ้ กับเด็กชายวีโก้  แต่รักษาที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ(โรงพยาบาลปากน้ำ)  แต่รักษาไม่ต่อเนื่อง ด้วยไม่มีเงินเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อยา  เมื่อมีอาการไอเป็นเลือดถึงจะกินยา  เพราะยาแพงเหลือเกินในแต่ละครั้ง   ทางครูพยายามจะไม่ให้เลี้ยงหลานแฝด  แต่ยายจะบอกเสมอว่า ถ้าไม่เลี้ยงหลานให้ลูกสาวก็ไม่ได้ทำนา  ลูกเขยหาคนเดียวไม่พอ  เดี๋ยวลูกสาวก็ต้องเอาหลานออกไปตระเวนขอทาน  สุดท้ายตัวเองก็ต้องมาเลี้ยงอีกคนเมื่อลูกสาวถูกจับไป  สู้เลี้ยงสองคนให้ลูกสาวไปทำงาน  แล้วแบ่งปันเงินที่พอหาได้ไปซื้อยามาประทังให้ยืดชีวิต   เคยถามว่าวัณโรคเผยแพร่ไปสู่คนในครอบครัว  ยายบอกว่าคนอื่นเขาแข็งแรงไม่ติดกันหรอก  เขายังหนุ่มสาวกันอยู่   โรคนี้คนกัมพูชาใคร ใคร ก็เป็นกัน  แต่ห่วงหลานแฝดมากกว่า  แต่ก็ให้แม่ของหลานพาไปฉีดวัคซีน  เป็นการป้องกัน    แต่การใช้หน้ากากยายหายใจไม่สะดวก   เรื่องห้องพัก ถึงจะเพิ่มอีกห้องก็ยังคับแคบอยู่  เพราะหลานสาวสามคน ต่างโตกันหมดแล้ว   จึงให้หลานเป็นคนใส่หน้ากากเวลาที่ต้องนอนด้วยกัน   แต่จะติดใครก็แล้วแต่เวรกรรมเท่านั้น  เพราะพวกเราไม่มีทางเลือก  หาคุณหมอที่แทบจะหมดตัวเลย  โรคเหล่านี้หมดเงินกับหมดเท่านั้น



                กรณีศึกษาที่ห้า   เป็นครอบครัวของของน้องวันนา(นามสมมุติ) ซึ่งมีพ่อแม่ กับพี่น้องทั้งหมดสี่คน  วันนา เป็นลูกชายคนโตที่อายุ 12 ปีเท่านั้น   พ่อมีอาชีพรับจ้างทั่วไป  สภาพห้องพัก เดือนละ 1,200 บาท รวมทั้งไฟฟ้า ค่าน้ำ  รวมเป็นกว่า 3,000 บาท ต่อเดือน  เป็นสภาพห้องที่ใช้เป็นทุกอย่างทั้งนอน ห้องนั่งเล่น  ห้องครัว  สารพัดที่ใช้ทำทุกอย่าง  ที่นอนกางไว้ตลอดเวลา  เก็บไรฝุ่นและฝุ่นละอองเป็นอย่างดี  ผ้าห่มผ้าขนหนู  เสื้อผ้ากองรวมกันที่มุมห้องเท่านั้น  ชุดนักเรียนที่เท่านั้นที่แขวนเป็นสัดส่วนเท่านั้น  เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561  เมื่อมีคุณหมอเด็กกว่า 10 คน จากสถาบันเด็กลงมาตรวจสุขภาพที่ชุมชนเปรมฤทัย  เป็นหนึ่งในกว่าห้าเคสที่ต้องพาไปตรวจการคัดกรองวัณโรคอย่างต่อเนื่อง   จึงมีการเยี่ยมบ้านพบแม่เด็กที่เพิ่งพ้นมาจากสถานคนไร้ที่พึ่งนนท์บุรี  เข้าไปรับการสงเคราะห์กว่าหกเดือนพร้อมน้องอีกสองคน   ซึ่งได้รับการตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาล  แม่ของเด็กชายวันนา เป็นวัณโรคเหมือนกัน  แต่ได้กินยาอย่างครบตามรายการ แต่ต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง  น้องสองที่ติดไปกับแม่ไม่ติด   แต่วันนาโชคร้ายกว่าต้องมีการตรวจซ้ำ  จึงต้องเข้าไปคุยกับครอบครัว   แม่ของเด็กชายวันนา  บอกว่ายินดีอย่างยิ่งเพราะถ้ารักษาและกินยาอย่างต่อเนื่องโอกาสหายจากวัณโรคก็มีโอกาสสูง    แม่จึงยอมให้ความร่วมมือทุกอย่าง  เพราะอย่างไรก็ต้องอยู่รวมกันไม่มีเงินที่จะแยกห้องตามที่คุณหมอแนะนำ


                แต่ละเคสที่เล่าเรื่องราวมาทั้งหมดเป็นวัณโรคที่มีโอกาสแพร่ระบาดได้  และเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางสาธารณสุข   จึงเป็น ชุมชนที่ต้องเฝ้าระวังทางสาธารณสุข  แต่ในชุมชนแห่งนี้ก็เป็นพื้นที่สีแดงอยู่แล้วในกรณีการแพร่ระบาดของยาเสพติด

                การตรวจสุขภาพเพื่อการคัดกรองโรค  เมื่อใครป่วยจะส่งต่อหน่วยงานไหน พร้อมการรักษาจากต่อเนื่อง พร้อมทั้งการป้องกันไม่ให้ระบาดเพิ่มมากขึ้น   และเป็นคัดกรองในการเฝ้าระวังคนต่างด้าวเป็นการป้องกันโรคดีกว่าที่ต้องเอาเงินและทรัพยากรที่มีมาทุ่มเทในการรักษา   และต้องการวัคซีนที่ฉีดให้กับเด็กที่เกิดในชุมชนมีภูมิคุ้มกัน   ทุกคน  พร้อมกับการหาแนวทางซื้อบัตรประกันสุขภาพให้เด็กทุกคนถึงแม้เด็กเหล่านี้จะเข้าเมืองมาผิดกฎหมาย   เพื่อเป็นการป้องกันโรคระบาดไว้ก่อน   เมื่อเจ็บป่วยต้องรีบรักษาโดยด่วนที่สุด